วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

เพลงชาติสิงคโปร์





เพลงชาติสิงคโปร์

ชื่อเพลง : มาจูละห์ ซีงาปูรา (Majulah Singapura) แปลว่า “สิงคโปร์จงเจริญ”

เนื้อร้อง 

Mari kita rakyat Singapura

Sama-sama menuju bahagia

Cita-cita kita yang mulia

Berjaya Singapura



Marilah kita bersatu

Dengan semangat yang baru

Semua kita berseru

Majulah Singapura

Majulah Singapura


คำแปล

 มาเถิด เราชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย

มาร่วมมุ่งหน้าสู่ความสุขร่วมกัน

ขอความปรารถนาอันทรงเกียรติ

ของเรานั้นจงดลให้ประเทศ

สิงคโปร์ประสบผลสำเร็จ



มาเถิด เรามาสามัคคีกัน

ในจิตวิญญาณดวงใหม่

เราผองจงตะโกนก้องว่า

สิงคโปร์จงเจริญ

สิงคโปร์จงเจริญ


1. แผนที่

   แผนที่ 



  •  เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน
  •  ภูมิศาสตร์  ภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นเนินเขา ซึ่งเนินเขาทางภาคกลางเป็นเนินเขาที่สูงที่สุดของประเทศเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของสิงคโปร์ และภาคตะวันออกเป็นที่ราบต่ำ ชายฝั่งทะเลมักจะต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องมีการถมทะเล

2. เมืองหลวง

เมืองหลวง 



กรุงสิงคโปร์

3.พื้นที่ประเทศ

พื้นที่ประเทศ 
  • พื้นที่ 699 ตารางกิโลเมตร

4. จำนวนประชากร

จำนวนประชากร
  
     จำนวนประชากร 4480000  คน อยู่ในวัยแรงงานร้อยละ 65  แรงงานส่วนใหญ่ คือประมาณร้อยละ 32 ประกอบอาชีพเฉพาะทาง (Professional and Technical Jobs)  อีกร้อยละ 17 อยู่ในภาคการผลิต (Manufacturing) ร้อยละ 15  เป็นนักบริหารจัดการ (Administrative and Managerial Jobs) ร้อยละ 12  อยู่ในภาคบริการ (Business Services) ร้อยละ 6 อยู่ในภาคการเงิน (Financial Services) ที่เหลืออีกร้อยละ 18 ประกอบอาชีพอื่นๆ  ประชากรร้อยละ 60 เป็นชาวจีน ร้อยละ 10 เป็นชาวมาเลย์  ร้อยละ 7 เป็นชาวอินเดีย  อีกร้อยละ 23 เป็นประชากรเชื้อชาติอื่นๆ   


5. ระบบการปกครอง

ระบบการปกครอง

   ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว
สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (The Constitution) แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. สภาบริหาร (The Executive) ประกอบด้วยประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี  ซึ่งมีหน้าที่บริหารประเทศผ่านกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ

ประธานาธิบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี  โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายเซลลาปัน รามา นาทาน (Mr. Sellapan Rama Nathan) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสิงคโปร์ แต่เป็นคนที่ 2 ที่มาจากการเลือกตั้ง  เข้าดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2  เมื่อวันที่  1 กันยายน 2548

คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี   พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค ได้แก่ People’s Action Party (PAP) ของนายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong)  ก่อตั้งในปี 2497 ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2502 ที่เริ่มมีการเลือกตั้ง  พรรค PAP ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก และจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศด้วยความมั่นคงมาตลอด Worker’s Party (WP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2500 ปัจจุบันมีนาย Low Thia Kiang เป็นหัวหน้าพรรค  Singapore Democratic Party (SDP) ก่อตั้งในปี 2523 ภายใต้การนำของนาย Chee Soo Juan  และ Singapore Democratic Alliance (SDA)  ก่อตั้งเมื่อปี 2544 จากการรวมพรรคเล็กหลายพรรค  ปัจจุบันมีนาย Chiam See Tong เป็นหัวหน้าพรรค

สำหรับตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน ได้แก่

- นาย ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

- นาย โก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) รัฐมนตรีอาวุโส และ Chairman of the Monetary Authority of Singapore

- นาย ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีที่ปรึกษา

-  ศาสตราจารย์ เอส จายากูมาร์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง (Jayakumar Shunmugam) กฎหมาย และรัฐมนตรีประสานงานกิจการ ด้านความมั่นคงแห่งชาติ

- นายจอร์จ เอี่ยว (George Yeo) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

- นาย ลิม เฮง เกียง (Lim Hng Kiang) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม

 2. รัฐสภา (Parliament) มาจากการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งล่าสุดวันที่ 6 พฤษภาคม 2549        ได้สมาชิกสภาผู้แทนรวม 84 คน แบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล รวม 82 คน มาจากพรรค People’s Action Party และฝ่ายค้านมี 2 คน มาจากพรรค Worker’s Party และพรรค Singapore Democratic Alliance  สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปกำหนดในต้นปี 2554

3. สภาตุลาการ (The Judiciary) แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ศาลชั้นต้น (Subordinate Courts)  และศาลฎีกา (Supreme Court)


6. ภาษา ราชการ

ภาษา ราชการ 
  • ภาษาจีน 47%
  • ภาษาอังกฤษ 33 %
  • ภาษามาลายู 15%
  • ภาษาทมิฬ อินเดีย และอื่นๆ 5 %